Search
Close this search box.

DIY Project ด้วย 3D Printer #1 ที่ใส่เครื่องเขียน

ที่มาของ DIY Project ด้วย 3D Printer

ตอนนี้ใครๆก็สามารถหาซื้อเครื่อง 3D Printer ได้ไม่ยาก รวมถึงไฟล์ 3D Model ก็มีให้โหลดกันมากมาย (ใครยังไม่ทราบคลิ๊กลิ้งนี้ได้เลย) แต่หลายๆคนก็เจอปัญหาว่า ไม่สามารถแก้ไขไฟล์ให้ตามต้องการได้ เลยเป็นที่มาของ DIY Project ที่จะสอนเขียนแบบ 3D แบบง่ายๆ โดยใช้โปรแกรม Tinkercad ที่ทำงานผ่านเวบเบราเซอร์ (chrome firefox ie) ดังนั้นไม่ต้องห่วงเรื่องการติดตั้งและลิขสิทธิ์ โดยในช่วงแรกจะเน้นเป็นการวาดง่ายๆ ทำได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ไม่เกิน 15 นาที ก็ได้ข้างของ เครื่องใช้ ของตกแต่งส่วนตัวมาใช้งานแล้ว

โปรแกรม Tinkercad

สำหรับคนที่พึ่งเคยใช้งานครั้งแรกเข้าไปที่เวบ https://www.tinkercad.com ลงทะเบียนด้วยชื่อและอีเมลล์ก็พร้อมใช้งานแล้ว แถมแนวคิดของผู้พัฒนาก็ตามนั้นเลยคือ Design in minute หรือสร้าง 3D Model ง่ายๆ เพียงไม่กี่นาที โดยซี่รี่ DIY คงไม่ได้สอนวิธีใช้งานละเอียดมาก ถ้าใครสนใจสามารถค้นหาใน Youtube ถึงวิธีการใช้งานขั้น Advance ได้เลย

DIY Project ด้วย 3D Printer #1 ที่ใส่เครื่องเขียน

DIY#1 ที่ใส่อุปกรณ์เครื่องเขียนจาก Tinkercad และ 3D Printer

  1. หลังจากเข้าสู่หน้าจอการทำงานได้แล้ว เลือก Polygon ด้านขวา จากนั้นเลือกเป็น 6 เหลี่ยมตามภาพ (เป็นค่าเริ่มต้นอยู่แล้ว)
  2. เลือกให้ขนาดกว้างกับยาวเท่ากับ 45 mm (เลือกสี่เหลี่ยมสีขาวเล็กๆที่อยู่ตรงมุมไหนก็ได้ จะได้รูปร่างตามภาพ)
DIY Project ด้วย 3D Printer #1 ที่ใส่เครื่องเขียน

3. ให้ขนาดความสูงโดยคลิ๊กที่สี่เหลี่ยมสีขาวเล็กๆ ด้านบนเพื่อยืดชิ้นงานให้มีความสูง 80 mm

DIY Project ด้วย 3D Printer #1 ที่ใส่เครื่องเขียน

4. สร้าง Polygon อีกชิ้น เหมือนขั้นตอนที่ 1

DIY Project ด้วย 3D Printer #1 ที่ใส่เครื่องเขียน

5. ส่วนชิ้นเจาะนี้ให้ขนาด 40×40 mm

DIY Project ด้วย 3D Printer #1 ที่ใส่เครื่องเขียน

6. ส่วนชิ้นเจาะนี้ให้ความสูง 70 mm หลังจากนั้นที่กล่อง Shape ให้เลือกชิ้นงานเจาะเป็น Hole ซึ่งชิ้นงานจะกลายเป็นสีโปร่งใสสีเทาตามภาพ

DIY Project ด้วย 3D Printer #1 ที่ใส่เครื่องเขียน

7. ใช้เมาส์ลากชิ้นงานเจาะ (คลิ๊กซ้ายค้างไว้) ไปไว้ให้กลางชิ้นงานแรกมากที่สุด (ไม่ต้องซีเรียสว่ากลางหรือไม่กลาง เราทำใช้เอง)

DIY Project ด้วย 3D Printer #1 ที่ใส่เครื่องเขียน

8. หลังจากได้ตำแหน่งเหมาะสมแล้ว ครอบเมาส์ให้ครอบคลุมชิ้นงานทั้ง 2 อัน แล้วไปที่คำสั่ง Group ตามภาพ หรือกด ctrl+G ก็ได้เช่นกัน หลังจากนั้นจะเห็นว่าชิ้นงานเรากลายเป็นหลุมไว้ใส่ของแล้ว

DIY Project ด้วย 3D Printer #1 ที่ใส่เครื่องเขียน

9. Crop ชิ้นงาน แล้วกด ctrl+c เพื่อ copy ชิ้นงานที่เราทำจากนั้นกด ctrl+v เพื่อสร้างชิ้นงานใหม่ โดยลากชิ้นงานไปวางในตำแหน่งที่ต้องการ โดยตามตัวอย่างสร้างมา 3 ชิ้น วางติดกันตามภาพเป็นอันเสร็จสิ้นการสร้าง 3D Model ง่ายๆแต่นำไปใช้จริงได้

DIY Project ด้วย 3D Printer #1 ที่ใส่เครื่องเขียน

10. พอเสร็จสิ้นการสร้างแล้วจะนำไฟล์ 3D ไปใช้กับเครื่อง 3D Printer ไปที่คำสั่ง Export เลือกนามสกุล .stl

DIY Project ด้วย 3D Printer #1 ที่ใส่เครื่องเขียน

11. ในส่วนนี้ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนใช้เครื่อง 3D Printer และโปรแกรมอะไรในการ slice ชิ้นงาน โดยตัวอย่างใช้โปรแกรม Simplify3D (slice คืออะไร คลิ๊กที่นี่)

DIY Project ด้วย 3D Printer #1 ที่ใส่เครื่องเขียน

12. งานชิ้นนี้คิดขึ้นมาใหม่ เลยพิมพ์เป็นต้นแบบขึ้นมาก่อน ดังนั้นจึงใช้ความละเอียด 320 ไมครอน ความเร็ว 60 mm/s ใช้เวลาพิมพ์ราวๆ 4 ชั่วโมง ส่วนถ้าใครใช้เครื่องใหม่ๆ แพง น่าจะไม่เกิน 3 ชั่วโมง

DIY Project ด้วย 3D Printer #1 ที่ใส่เครื่องเขียน

13. ตัวอย่างงานที่พิมพ์เสร็จ ใช้งานได้จริง แถมแข็งแรง ตกไม่พังง่ายๆด้วย ต้นทุนไม่ถึง 100 บาท

DIY Project ด้วย 3D Printer #1 ที่ใส่เครื่องเขียน

14. ส่วนท่านใดที่อยากสนุกต่อ และทำอะไรแปลกๆมากขึ้น ไปที่คำสั่งสร้างชิ้นงานที่ชื่อ “Scribble” จะเป็นการใช้เมาส์วาดได้อิสระตามภาพ

DIY Project ด้วย 3D Printer #1 ที่ใส่เครื่องเขียน

15. ส่วนตัวอย่างก็ใช้มือวาดเป็นตัวอักษร DIY (สามารถพิมพ์ได้ text box ได้ ถ้าเป็นตัวอักษร)

DIY Project ด้วย 3D Printer #1 ที่ใส่เครื่องเขียน

16. ถัดมาก็เป็นขั้นตอนเอาตัวอักษรที่เขียนขึ้นไปเจาะชิ้นงาน ตามขั้นตอนเดิม ซึ่งหากใช้งานครั้งแรกๆ อาจจะยากหน่อยต้องฝึกซักระยะจะชินกับการหมุน ย่อ เลื่อน ชิ้นงาน

DIY Project ด้วย 3D Printer #1 ที่ใส่เครื่องเขียน
DIY Project ด้วย 3D Printer #1 ที่ใส่เครื่องเขียน

17. ชิ้นงานแบบ 3D Model ที่แต่งเพิ่มเติมมาแล้ว เท่ไม่ซ้ำใครเลย

DIY Project ด้วย 3D Printer #1 ที่ใส่เครื่องเขียน

ส่วนใครไม่มีเวลาสร้างก็โหลดของที่เราทำไปใช้ได้เลยตามลิ้งด้านล่าง

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ติดตามข่าวสารและบทความ

บทความน่าสนใจอื่นๆ

3D Printing Technology

รีวิวฟีเจอร์ Chitubox 2.0 กับฟีเจอร์ใหม่ที่ต้องรู้

Chitubox 2.0 กับคู่แข่งมากขึ้น นอกจากการแข่งขันด้านการพัฒนาเครื่องรุ่นใหม่ๆ แล้ว ด้านโปรแกรมกลุ่ม Slicer ก็มีผู้เล่นหน้าเก่า

อ่านต่อ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บการใช้งานของคุณบนเวบไซต์ของเรา เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาระบบที่ดีในการใช้งานเวบไซต์ หากท่านไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถปรับปรุงและพัฒนาเวบไซต์เพื่อตอบสนองความต้องการได้
    Cookies Details

บันทึก