Search
Close this search box.

Resin 3D Printer มีกี่แบบแตกต่างกันอย่างไร ?

เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ โดยมีวัสดุเป็น Resin (เรซิน) นั้น เป็นเทคโนโลยีแรกที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1984 โดยมีชื่อเรียกตามสิทธิบัตรว่า Stereolithography (SLA) ซึ่งใช้การฉายแสงเพื่อให้เรซินกลายเป็นของแข็งทีละชั้นจนได้เป็นชิ้นงาน 3 มิติ  (อ่านเทคโนโลยีอื่นๆ คลิ๊ก) ทั้งนี้แสงที่ฉายปัจจุบันแบ่งออกได้เป็น 3 ระบบคือ

  • Laser Base คือใช้แสงเลเซอร์เป็นตัวฉายแสง ดังนั้นเรซินจะแข็งเป็นจุดตามแนวที่เลเซอร์ส่องผ่าน
  • DLP Projector, UV Project ใช้ชิบ DLP เป็นการฉายภาพทั้งระนาบ มีทั้งใช้โปรเจคเตอร์ที่ฉายไสลด์ หรือเป็นเครื่อง DLP สำหรับ 3D Printer โดยเฉพาะจาก Texus-Instrument
  • LCD Base, LCD Masking, MSLA ตามแต่ผู้ผลิตจะใช้ โดยหลักการคือใช้จอ LCD ให้เป็นตัวฉายภาพ โดยมีแสง UV LED ส่องทะลุ
ข้อดีของเครื่องพิมพ์แบบเรซินคือได้คุณภาพผิวของชิ้นงานสูงมาก แทบจะเรียบเหมือนงานที่หล่อออกจากแม่พิมพ์ อีกทั้งขึ้นงานได้ค่อนข้างเร็ว เนื่องจากปฏิริยาส่วนใหญ่เป็นเคมี ซึ่งเร็วกว่าแบบเส้นพลาสติกที่ต้องหลอม (melting) แล้วทำให้แข็งตัว (cooling) ทั้งนี้เทคโนโลยีของ Resin 3D Printer นั้น แต่ละแบบที่ได้กล่าวมามีความแตกต่างกันทั้ง ราคา ความเร็วในการผลิต คุณภาพผิว ซึ่งบทความนี้จะช่วยให้ท่านที่อ่านบทความนี้เข้าใจความแตกต่างมากยิ่งขึ้น

Laser Base

sla icon

ใช้เลเซอร์ Galvo หรือเลเซอร์ที่มีกระจก 2 ชิ้น คอยทำหน้าที่สะท้อนเลเซอร์ไปยังตำแหน่งต่างๆ ตามต้องการ

  • ความเร็วยิงแสงมีตั้งแต่ 150 mm/s จนไปถึง 5,000 mm/s (เป็นความเร็วใช้งานพิมพ์จริง)
  • ความยาวคลื่น 355-405 nm ถ้าเป็นเครื่องระดับ Desktop จะอยู่ที่ 395 nm
  • กำลังของเลเซอร์มีตั้งแต่  150mw (Desktop SLA) จนไปถึง 500mw (Industrial SLA)
  • ขนาดของเลเซอร์ทั่วๆไปอยู่ที่ 0.2-0.7 mm บางเครื่อง

DLP Base

dlp icon

ใช้เครื่อง DLP ในการฉายแสงออกมาเป็นภาพ พร้อมพลังงานแสงยูวี ซึ่งมีพลังงานสูงมากๆ และได้ภาพที่คมชัด ทนทาน เนื่องจากไม่มีส่วนที่เคลื่อนที่เลย แต่ตัวหลอดจะเริ่มเสื่อมสภาพเมื่อใช้ไปนานๆ

  • ความเร็วในการพิมพ์ต่อชั้นปกติอยู่ที่ 1-3 วินาที เท่านั้น (เครื่องทั่วๆไป)
  • ความยาวคลื่นใช้งาน มีตั้งแต่ 400-680 nm สำหรับโปรเจคเตอร์ แต่ถ้าเป็น DLP เฉพาะ 3D Printer จะอยู่ที่ 405 nm ค่าเดียว ดังนั้นจึงมีความสม่ำเสมอของแสงสูงมาก
  • ความละเอียดขึ้นอยู่กับตัวชิบปัจจุบันมาตรฐานจะอยู่ที่ Full HD (1920×1080 pixel) ส่วน 4K ยังมีราคาที่สูงมากๆ

LCD Base

LCD icon

เทคโนโลยีแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ตัวแหล่งกำเนิดแสง ซึ่งจะเป็นตัวหลอด UV ซึ่งเป็นตัวให้แสง และจอ LCD ที่ทำหน้าที่ฉายภาพตามต้องการ

  • ความเร็วในการพิมพ์ต่อชั้นปกติอยู่ที่ 4-20 วินาที จากแสง UV 25W จนไปถึง 60W ยิ่งพลังงานมาก จอ LCD จะเสื่อมสภาพไว
  • ความยาวคลื่นอยู่ที่ 405 nm เป็นส่วนใหญ่
  • ความละเอียดมาตรฐานอยู่ที่ 2K (2560×1440) ส่วนระดับ 4K ที่ใช้งานได้จริงจัง และระยะเวลานานๆ น่าจะเป็นช่วงปี 2020-2021
  • ขนาดจอที่มีในปัจจุบัน 5.5, 6, 8.9, 10.1, 13.3, 24, 42 นิ้ว ยิ่งใหญ่ ความละเอียดก็จะลดลง
  • ความละเอียด XY (pixel) เริ่มต้น 47 ไมครอน ไปจนถึง 230 ไมครอน
sla 3d printer
Peopoly Moai - SLA 3D Printer
DLP 3D Printer
Kudo Titan 2 - DLP 3D Printer
elegoo mars
Elegoo Mar - LCD 3D Printer

ความละเอียด XY และ Z

ความละเอียด XY ตามที่ได้เกริ่นมาด้านบน

  • SLA อย่าง Peopoly Moai อยู่ที่ 70 ไมครอน
  • DLP อย่าง SprintRay Pro 95 ใช้จอ Full HD อยู่ที่ 95 ไมครอน หรือ Kudo Titan 2 HR ทำความละเอียดได้ถึง 26 ไมครอน
  • LCD อย่าง Elegoo Mar ใช้จอ 2K อยู่ที่ 47 ไมครอน

ส่วนในกรณีของความละเอียดในแกน Z นั้น ขึ้นอยู่กับโครงสร้าง และระบบขับเคลื่อนฐานพิมพ์ โดยปกติจะอยู่ที่ 25-100 ไมครอน สำหรับ Resin 3D Printer ถึงแม้ตัวเลขทางคณิตศาสตร์จะเท่ากัน แต่ในความเป็นจริงเครื่องที่ราคาสูงมักใช้ชิ้นส่วนคุณภาพดี ซึ่งจะเห็นได้จากผลงานที่พิมพ์ออกมาที่ดีกว่ามาก ซึ่งไม่สามารถวัดได้จากตัวเลข

ความยาวคลื่นช่วงใช้งาน

ยิ่งความยาวคลื่นสั้น จะยิ่งมีพลังงานมาก ซึ่งแต่เทคโนโลยีก็มีค่าที่เหมาะสมไม่เหมือนกัน ดังนั้นเรซินที่ใช้ส่วนใหญ่ก็ไม่สามารถใช้ด้วยกันได้ หรืออาจต้องตั้งค่าการพิมพ์ที่ไม่ปกติ เช่น ใช้เวลาฉายนานกว่าปกติ ต้องเปลี่ยนถาดเรซินชนิดใหม่

  • SLA อย่าง Peopoly Moai อยู่ที่ 395 nm micron
  • DLP อย่าง SprintRay Pro 95 อยู่ที่ 405 nm
  • DLP ที่ใช้โปรเจคเตอร์อย่าง Kudo Titan 2 อยู่ในช่วง 400-680 nm
  • LCD อย่าง Elegoo Mar ใช้จอ 2K อยู่ที่ 405 nm หรือของ Photocentric จะอยู่ที่ 385 nm

กำลังของแสง

  • SLA อย่าง Peopoly Moai อยู่ที่ 150 mw หรือ Form 2 อยู่ที่ 250 mw เป็นจุด
  • DLP จะกำลังไฟอยู่ราวๆ 20 mw/ตารางเซนติเมตร ซึ่งอาจะมีค่าแตกต่างขึ้นอยู่กับว่า วาง DLP ใกล้ (ความเข้มสูง) หรือวางห่างฐานพิมพ์ (ความเข้มลดลง)
  • LCD อย่าง Elegoo Mar ใช้ UV Led กำลังไฟอยู่ที่ 40W ซึ่งในความเป็นจริงจะโดยจอ LCD  ดูดกลืนไปเกือบหมด เหลือพลังงานน้อยมากกว่าจะถึงตัวเรซิน

บทความนี้แบ่ง 2 อย่างคือ ตามงบประมาณ การใช้งาน และพื้นที่การพิมพ์ โดยตั้งไว้ไม่เกิน 2 แสนบาท

งบประมาณไม่เกิน 50,000 บาท

  • เครื่องพิมพ์ 3 มิติ แบบ LCD สามารถเลือกได้ทั้งขนาด 5.5 นิ้ว จนไปถึง 10 นิ้ว ซึ่งให้พื้นที่การพิมพ์มากที่สุดราวๆ 20×12 cm
  • เครื่อง DLP และ SLA ระดับนี้ยังไม่มีวางจำหน่ายในวันที่เขียนบทความ
  • เครื่องระดับนี้ที่เป็น LCD สามารถทำงานได้ระดับมือสมัครเล่น จนไปถึงมืออาชีพ ตั้งแต่งานต้นแบบ โมเดลจำลอง ฟิกเกอร์ จิวเวรี และทันตกรรม สำหรับคนที่มีเวลาตั้งค่าเครื่องให้แม่นยำ
  • ข้อเสียคือระดับราคานี้ เครื่องจะทำงานค่อนข้างช้า
  • หากเป็นพวกจอ LCD ควรเผื่อค่าใช้จ่ายของจอ LCD ที่มีอายุการใช้งาน 500-1000 ชั่วโมง

งบประมาณไม่เกิน 100,000 บาท

  • สามารถใช้เครื่อง SLA ระดับเริ่มต้นที่มีพื้นที่การพิมพ์ใหญ่ 13×13 cm ได้แล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นยี่ห้อจีน หรือไต้หวัน
  • สามารถซื้อเครื่อง LCD 3D Printer ที่มีขนาดจอ 13.3 นิ้วได้แล้ว ให้พื้นที่การพิมพ์เกือบ 30 cm
  • ยังไม่สามารถซื้อเครื่อง DLP มือ 1 ได้ ต้องหาแบบมือ 2 เท่านั้น
  • ยังคงเหมาะกับมือสมัครเล่นถึงมืออาชีพ ที่งานยังไม่ใหญ่มาก ยังไม่ต้องการความแม่นยำระดับวิศวกรรม

งบประมาณไม่เกิน 200,000 บาท

  • ตัวเลือกในราคาระดับนี้สามารถเลือกได้ทั้ง SLA ยอดนิยม และ DLP ที่มีความเร็วในการพิมพ์สูงมาก ในกลุ่ม DLP เหมาะกับไปทำงานจิวเวรี และทันตกรรมที่ 1 วัน สามารถผลิตได้ 2-4 รอบ การผลิตเลยทีเดียว
  • SLA บางยี่ห้อสามารถพิมพ์ได้ถึง 20×20 cm เหมาะกับการทำงานใหญ่ๆ
  • ราคาในระดับนี้ การเลือกเครื่อง LCD หลายๆเครื่องก็เป็นตัวเลือกที่ดี สำหรับผลิตเป็น Farm ขนาดใหญ่ หากเลือกบางยี่ห้อ สามารถติดตั้งได้มากกว่า 6 เครื่องเลยทีเดียว

เรซินแต่ละชนิด แต่ละยี่ห้อ ถูกปรับสูตรให้เหมาะสมกับแต่ละเทคโนโลยี หากใช้ข้ามกันถึงแม้จะพิมพ์ได้ แต่ก็อาจเกิดปัญหาตามมา เช่น

  • ใช้ LCD Resin กับเครื่อง SLA 3D Printer ที่มีถาดเป็น PDMS ซึ่งเรซินของ LCD ขณะเปลี่ยนเป็นของแข็งจะสร้างความร้อนสูงมาก ทำให้ PDMS เสื่อมสภาพ เสียหาย
  • ใช้ DLP Resin กับเครื่อง LCD 3D Printer ทำให้ต้องฉายแสงเป็นเวลานานมาก เนื่องจากความเข้มของแสงแตกต่างกันหลายเท่าตัว ส่งผลให้จอ LCD เสียหายก่อนเวลา
  • ใช้ SLA Resin กับเครื่อง LCD Daylight ประกาฎว่าเรซินไม่แข็งตัวเลย เนื่องจากช่วงการกระตุ้นคนละช่วงกัน

ดังนั้นควรเลือกใช้เรซินแต่ละชนิดให้เหมาะสมกับเครื่องของตัวเอง จะได้ผลที่ดีที่สุด และยืดอายุการใช้งานเครื่องและอุปกรณ์ของเครื่องอีกด้วย

ตัวอย่างงานจากเครื่อง Resin 3D Printer ราคาถูก

สนใจเครื่องเรซิน 3D Printer

แนะนำเครื่องสำหรับคนเริ่มต้น-จนถึงกลางๆ ประมาณ 50,000 บาท โดยเราเน้นที่ความคุ้มค่าในการลงทุนกับคุณภาพของงานที่จะได้รับ เป็นยี่ห้อที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลกคือ Elegoo Mars และ Phrozen Shuffle ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมคลิ๊กลิ้งที่ภาพได้เลยครับ

elegoo mars
Elegoo Mars เครื่องขายดีจากอเมซอน
phrozen shuffl 4k 31 micron resolution
Shuffle 4K ความละเอียดสูงสุดในปัจจุบัน
Shuffle XL 8.9 inch lcd
Shuffle XL เครื่องไซส์กลางผลิตจากไต้หวัน

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ติดตามข่าวสารและบทความ

บทความน่าสนใจอื่นๆ

3D Printing Technology

รีวิวฟีเจอร์ Chitubox 2.0 กับฟีเจอร์ใหม่ที่ต้องรู้

Chitubox 2.0 กับคู่แข่งมากขึ้น นอกจากการแข่งขันด้านการพัฒนาเครื่องรุ่นใหม่ๆ แล้ว ด้านโปรแกรมกลุ่ม Slicer ก็มีผู้เล่นหน้าเก่า

อ่านต่อ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บการใช้งานของคุณบนเวบไซต์ของเรา เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาระบบที่ดีในการใช้งานเวบไซต์ หากท่านไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถปรับปรุงและพัฒนาเวบไซต์เพื่อตอบสนองความต้องการได้
    Cookies Details

บันทึก