Search
Close this search box.

3D Printer กับ 10 ตัวอย่างการนำไปใช้งานในอุตสาหกรรม

นวัตกรรมการผลิตยุค 4.0

เครื่อง 3D Printer แบบเทคโนโลยี Fused Deposition Modelling หรือ FDM เป็นหนึ่งในเครื่องที่นิยมใช้มากที่สุดในภาคอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นงานต้นแบบ งานซับซ้อนผลิตด้วยกระบวนการปกติไม่ได้ หรือแม้กระทั่งชิ้นส่วนที่ใช้งานจริง ซึ่งต้องการความแข็งแรงสูง การใช้งานดังที่ได้กล่าวมาช่วยลดระยะเวลา ขั้นตอนการทำงาน และต้นทุนทางธุรกิจได้มหาศาล สำหรับผู้ที่สามารถปรับตัวตามเทคโนโลยีได้ ทั้งนี้เครื่องแบบ FDM/FFF ถึงแม้จะมีข้อเสียด้านความเร็วในการผลิต คุณภาพของผิว แต่ก็ทดแทนได้ด้วย วัสดุการใช้งานที่หลากหลายตามความต้องการ และราคาที่ถูกกว่าเทคโนโลยีอื่นๆ (อ่านข้อมูลเพิ่มเติมด้านเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ อื่นๆ) บทความนี้ได้นำตัวอย่างการนำเครื่อง 3D Printer ไปใช้ในการทำงานจริง ซึ่งเป็นข้อมูลจากทาง 3DGence

1. ผลิตเครื่องมือเพื่อช่วยลดระยะเวลาในสายการผลิต

Plastic processing industry

บริษัท Geo Globe ประเทศโปแลนด์ ใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ เพื่อผลิตเป็นถาดสำหรับการขนถ่ายชิ้นส่วนที่ผลิตเสร็จแล้ว ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้การผลิตรวดเร็วมากยิ่งขึ้นเมื่อใช้ควบคู่กับระบบออโตเมชั่น โดยรวมการตั้งสายการผลิตใหม่ลดระยะเวลาไปได้มากถึง 3 สัปดาห์จากสายการผลิตเดิม

เครื่องที่ใช้: 3DGence F340
วัสดุ : ABS

2. ตรวจสอบและประเมินผล ขนาด ความแม่นยำ การใช้งานจริง ก่อน Mass Production

Electrotechnics

Emtel ผู้ผลิตเครื่องมือทางการแพทย์ นำเครื่องพิมพ์ 3 มิติ มาผลิตเป็นแผงหน้าจอต้นแบบ เพื่อตรวจสอบขนาด และการใช้งานที่เหมาะสมจริง ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการผลิตจำนวนมากโดยเครื่อง Injection Molding ซึ่งทางบริษัทกล่าวว่า ด้วยต้นทุนของการผลิตจำนวนมากที่ราคาสูง ไม่สามารถผิดพลาดได้ การขึ้นงานต้นแบบหรือ Prototype ขึ้นมาทดลองใช้จริงก่อน สามารถช่วยลดต้นทุนได้มหาศาล ระยะเวลาในการผลิตงานต้นแบบอยู่ที่ 5 วัน จากปกติ 25 วัน เมื่อใช้ Supplier ภายนอกบริษัท

เครื่องที่ใช้: 3DGence F340
วัสดุ : ABS

3. ส่วนประกอบของเครื่องจักร

Mechanical engineering

AMS System เชี่ยวชาญในด้านการออกแบบและผลิตเครื่องจักรตามความต้องการลูกค้า ดังนั้นชิ้นส่วนต่างๆในบางครั้งจึงไม่ได้มีมาตรฐาน ต้องดัดแปลง หรือปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นเครื่องพิมพ์ 3D  จึงเป็นเครื่องมือประจำวันของฝ่ายออกแบบและผลิต ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ทางบริษัทฯนำมาใช้จริงคือ Housing สำหรับติดตั้งระบบไฟและเซ็นเซอร์ ซึ่งช่วยลดความผิดพลาด และระยะเวลาในการติดตั้งได้ดี

เครื่องที่ใช้: 3DGence F340
วัสดุ : ABS

4. ผลิตชิ้นงานต้นแบบในอุตสาหกรรมยานยนต์

Automotive

Bocar ผู้ผลิตรถดับเพลิง นำมาใช้สำหรับผลิตชิ้นส่วนต้นแบบ 1:1 ทั้งหมด เพื่อตรวจสอบการใช้งานจริง ความทนทาน รวมไปถึงความยาก-ง่ายในการประกอบชิ้นส่วนทั้งหมดเข้าด้วยกัน ซึ่งทางบริษัทให้ข้อมูลว่า ส่วนที่ยากที่สุดคือการออกแบบให้เหมาะสมกับความต้องการทั้งหมด ซึ่งค่อนข้างยากในการเริ่มต้น การมีชิ้นงานต้นแบบที่ลงทุนไม่มาก สามารถดัดแปลงได้ตลอดเวลา ช่วยให้ขั้นตอนนี้ผ่านไปได้ง่ายขึ้น

เครื่องที่ใช้: 3DGence F340
วัสดุ : ABS

5. ทดสอบ Tooling

Aerospace

MB Aerospace ผู้ผลิตชิ้นส่วนเครื่องยนต์ในอากาศยาน ใช้ เครื่องพิมพ์ 3 มิติ มาผลิตเป็น Fixture ช่วยตรวจสอบชิ้นส่วนหลังผ่านกระบวนการ machining ด้วยเครื่อง CNC เพื่อลดข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น ซึ่งสะดวกและง่ายกว่าไปขึ้นเครื่องวัดมาตรฐานที่มีต้นทุนสูง และใช้เวลานานกว่า

นอกจากนี้ทางบริษัทฯ ยังเอาไปช่วยในการผลิตชิ้นส่วนใหม่ เพื่อทดสอบการใช้งาน การเคลื่อนที่ การประกอบ และใช้จริง เพื่อช่วยลดการออกแบบที่ไม่เหมาะสม ก่อนที่จะผลิตจริงด้วยเครื่อง CNC อีกที

เครื่องที่ใช้: 3DGence Double
วัสดุ : PLA

6. แบบจำลองเครื่องจักร

Heavy fab machine industry

FAMUR Group ผลิตเครื่องจักรในอุตสาหกรรม ซึ่งมีรายการผลิตภัณฑ์จำนวนมาก บริษัทฯ ต้องการนำเสนอสินค้า เพื่อให้ลูกค้าเห็นรายได้ละเอียดได้ชัดเจน ไม่เฉพาะในคอมพิวเตอร์ หรือใบโฆษณา หรือเวลานำไปออกงานแสดงสินค้า หรือลูกค้าภายนอก ง่ายขึ้น โดยนำเครื่อง 3D Printer มาผลิตเป็น Mock Up ของเครื่องจักร ร่วมกับระบบ RFID ให้ลูกค้าดาว์นโหลดข้อมูลไปได้เลย ซึ่งเป็นกระบวนการที่ประหยัดและเห็นภาพได้ชัดเจนที่สุด โดยไม่ต้องคำนึงถึงต้นทุน หรือการขนส่งมากเท่าการยกเครื่องจริงๆไปโชว์

เครื่องที่ใช้: 3DGence F340
วัสดุ : ABS

7. ออกแบบและผลิตชิ้นส่วนของ Racing Car

Automotive

AGH Racing เป็นกลุ่มนัดศึกษาของ AGH University of Science and Technology ประเทศโปแลนด์ ที่พัฒนารถแข่งฟอร์มูล่าขึ้นเอง

เครื่อง 3D Printer ได้นำมาใช้ผลิตเป็นชิ้นส่วน ของระบบบังคับเลี้ยว (Steering) ซึ่งแต่เดิมเป็นอลูมิเนียมผลิตด้วยการกัด (Milling) ซึ่งทางทีมต้องการลดน้ำหนักตัวรถให้มากที่สุด โดยออกแบบโดยใช้หลัก Topology คือลดเนื้อในส่วนที่ไม่จำเป็นให้มากที่สุด ในขณะที่แข็งแรงพอกับการใช้งาน ซึ่งรูปร่างดังกล่าว ไม่สามารถผลิตด้วยวิธีเดิมได้ การออกแบบและผลิตดังกล่าวใช้เวลาเพียง 2 วันเท่านั้น

เครื่องที่ใช้: 3DGence F340
วัสดุ : ABS

8. ทดสอบการติดตั้ง mecanum wheels ในหุ่นยนต์

Mechanical engineering

AJmaker ได้พัฒนา mecanum wheels (ใครไม่ทราบว่าคืออะไร คลิ๊กไปตามลิ้งนี้ได้เลยครับ) แบบใหม่ขึ้น ซึ่งปกติแล้วจะใช้อลูมิเนียม หรือโลหะชนิดอื่นในการผลิต ดังนั้นจึงมีต้นทุนการผลิตที่สูง และไม่แน่นอนว่า เจ้าล้อที่ออกแบบขึ้นนั้น เหมาะสมกับการใช้งานมากเพียงใด ดังนั้นฝ่ายพัฒนาจึงใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ทำงานต้นแบบขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเมื่อดูจากชิ้นส่วนที่ประกอบไปด้วยส่วนประกอบจำนวนมาก และหลากหลายวัสดุ (มีส่วนที่เป็นของแข็งและส่วนที่เป็นยาง) การผลิตงานต้นแบบ 1 ชิ้น กินระยะเวลาเป็นเดือน ดังนั้น 3D Printer ที่มีสามารถผลิตชิ้นงานที่มีความซับซ้อน จึงเหมาะสมกับการผลิตต้นแบบมากที่สุด

เครื่องที่ใช้: 3DGence Double
วัสดุ : PLA/Flexible

9. Die ที่ซับซ้อน-ความต้องการที่มากขึ้น

Jigs & Fixture

Pure Power Sources เป็นบริษัทผลิตตัว Die พลาสติก ที่ใช้ในสายการผลิต เพื่อใช้ในการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ หรือเช็คคุณภาพชิ้นงาน ซึ่งปัจจุบันบริษัทได้ใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ในการผลิตชิ้นส่วนดังกล่าวทั้งหมด ! ก่อนหน้านั้นการแข่งขันในอุตสาหกรรม Die มีสูงมาก และบริษัทฯมีต้นทุนที่สูงกว่าคู่แข่งขัน ดังนั้นการประยุกต์ใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ นี้ สามารถช่วยให้บริษัทมีต้นทุนที่ต่ำลง และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีมากขึ้น

เครื่องที่ใช้: 3DGence Double
วัสดุ : –

10. Drone housing

Aviation

FPVPolska บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนของโดรน ซึ่งพัฒนากรอบภายนอกของตัวโดรนเพื่อป้องกันชิ้นส่วนภายใน ปัญหาคือความต้องการของผู้บริโภคไม่มากพอที่จะลงทุนด้วยการผลิตจำนวนมาก ดังนั้นทางบริษัทจึงใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ผลิตแทน โดยใช้วัสดุเป็นไนลอนผสมเส้นใยคาร์บอน ซึ่งมีความแข็งแรง ทนทานสูงมาก และยังน้ำหนักเบา นอกจากนี้ยังสามารถปรับแต่งตามความต้องการของลูกค้าได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเพิ่มส่วนติดตั้งกล้อง ไฟ หรืออื่นๆเพิ่มเติม โดยใช้ต้นทุนไม่แตกต่างจากเดิม

เครื่องที่ใช้: 3DGence F340
วัสดุ : Nylon+Carbon Fiber

เป็นตัวอย่าง 10 การนำไปใช้งานจริงในอุตสาหกรรมของยุโรป ซึ่งมีทั้งบริษัทขนาดเล็ก และใหญ่ มีทั้งการนำไปใช้งานต้นแบบ และชิ้นส่วนจริง ซึ่งถึงแม้ FDM 3D Printer จะมีข้อด้อยหลายข้อ แต่ด้วยต้นทุนที่ต่ำ และวัสดุที่หลากหลาย ตามความต้องการ จึงยังเป็นเครื่องที่เหมาะสมที่สุดในอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในประเทศไทย ที่เริ่มเปลี่ยนการใช้งานจากงานต้นแบบฝ่ายออกแบบ เป็นการใช้งานจริงในฝ่ายผลิตมากขึ้น ที่เหลือคือองค์ความรู้ด้านวัสดุ ที่จะตอบสนองความต้องการของการใช้งานที่แตกต่างกัน

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ติดตามข่าวสารและบทความ

บทความน่าสนใจอื่นๆ

3D Printing Technology

รีวิวฟีเจอร์ Chitubox 2.0 กับฟีเจอร์ใหม่ที่ต้องรู้

Chitubox 2.0 กับคู่แข่งมากขึ้น นอกจากการแข่งขันด้านการพัฒนาเครื่องรุ่นใหม่ๆ แล้ว ด้านโปรแกรมกลุ่ม Slicer ก็มีผู้เล่นหน้าเก่า

อ่านต่อ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บการใช้งานของคุณบนเวบไซต์ของเรา เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาระบบที่ดีในการใช้งานเวบไซต์ หากท่านไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถปรับปรุงและพัฒนาเวบไซต์เพื่อตอบสนองความต้องการได้
    Cookies Details

บันทึก