Search
Close this search box.

Anycubic Photon resin calibration (DLP 3D Printer)

การหาเวลาฉายแสงของเครื่อง Anycubic Photon DLP 3D Printer

Anyubic Photon เป็นหนึ่งเครื่อง DLP 3D Printer ราคาถูกที่ได้รับความนิยมสูงมาก เนื่องจากเครื่องออกแบบมาสวยงาม มีที่ปิดมิดชิดพร้อมอะคริลิคที่สามารถมองเห็นข้างในได้ พร้อมทั้งเลือกใช้ Chitu Controller ที่เป็นบริษัทอันดับหนึ่งด้านบอร์ดควบคุมเครื่อง 3D Printer ในจีน มีซอฟแวร์พร้อมใช้งานครบครัน เข้าใจง่าย อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่ Chitu Slicer ที่มาพร้อมเครื่อง ไม่ได้มีระบบ resin calibration ติดมาให้ด้วย จึงมีกลุ่มผู้ใช้ Hack ตัวไฟล์ .photon เพื่อช่วยในการในหาเวลาที่เหมาะสม (exposure) สำหรับเรซินของ Anycubic เอง หรือของยี่ห้ออื่นที่มีมากมายในท้องตลาด

เสปคของ Anycubic Photon

 

♦   XY resolution 47 micron

♦   Z resolution 25-100 micron

♦   Build size 115mm x 65mm x 155mm

♦   UV LEd power 40W

Anycubic Photon resin calibration (DLP 3D Printer)
Anycubic Photon resin calibration (DLP 3D Printer)

ขั้นตอนการ Calibration

เริ่มต้นทาง alt Lab ได้ทำไฟล์มาตรฐานไว้เรียบร้อยแล้ว สามารถเข้าไปโหลดได้ที่ลิ้งด้านล่าง

จากนั้นแตกไฟล์ .zip ออกมาจะได้ตามภาพด้านล่าง จะมี 2ไฟล์หลักที่นามสกุล .photon ซึ่งสามารถนำไปใช้ทดสอบได้เลย

แต่ก่อนทดสอบต้องรันไฟล์ test-mode.gcode เพื่อเปิดโหมดทดสอบก่อน

*มีรายงานว่า firmware ของตัว Photon หลังไม่จำเป็นต้อนรันแล้ว อันนี้ทดสอบดูนะครับ

 

รายละเอียดของตัวไฟล์

resin-test-25u.B100.2-20

25u = ความละเอียด 25 ไมครอน (0.025)

B100 = เวลาฉายแสงชั้นฐาน 100 วินาที

2-20 = เวลาฉายแสงในการทดสอบ 2-20 วินาที

resin-test-50u.B100.2-20

25u = ความละเอียด 50 ไมครอน (0.025)

B100 = เวลาฉายแสงชั้นฐาน 100 วินาที

2-20 = เวลาฉายแสงในการทดสอบ 2-20 วินาที

Anycubic Photon resin calibration (DLP 3D Printer)

สำหรับโฟลเดอร์ slow_resin_tests จะเป็นไฟล์สำหรับเรซินที่ต้องการใช้เวลาฉายแสงนานมากๆ เช่น

resin-test-50u.B150.6-60.photon

50u = ความละเอียด 50 ไมครอน (0.05)

B150 = เวลาฉายแสงชั้นฐาน 150 วินาที

6-60 = เวลาฉายแสงในการทดสอบ 6-60 วินาที

ซึ่งปกติถ้าเวลาต่อชั้นเกิน 25 วินาที แสดงว่าเรซินไม่เหมาะสมกับเครื่อง LCD 3D Printer ที่ใช้อยู่แล้ว ควรเปลี่ยนกำลังไฟของหลอด LED ให้มากขึ้น

Anycubic Photon resin calibration (DLP 3D Printer)

การวิเคราะห์ผลการ Calibrate

ชิ้นงานที่ปริ้นจะมีความบางมาก ดังนั้นก่อนการ calibrate ควรตั้งระนาบฐานให้เหมาะสม หากไม่อย่างนั้นจะวิเคราะห์ผลที่ได้ผิดจากความเป็นจริง ชิ้นงานที่ calibrate มีรูปร่างดังภาพด้านล่าง

Anycubic Photon resin calibration (DLP 3D Printer)

ถ้าใช้ค่ามาตรฐานจะมีจำนวนแถวหลักทั้งหมด 10 แถว ตั้งแต่ 2 4 6 8 จนไปถึง 20 วินาที ห่างกันแถวละ 2 วินาที การวิเคราะห์ผลตามคู่มือให้ดูดังนี้

  1. ดูส่วนที่ Positive space และ Negative space คมชัด เห็นต่างกันแบบชัดเจนมากที่สุด
  2. Positive Space คือส่วนที่เล็กที่สุดซึ่งเครื่องสามารถพิมพ์ขึ้นรูปได้ ซึ่งตามทฤษฎีสเปคของ Photon ควรจะอยู่ขนาด 47 ไมครอน ในความเป็นจริงจะอยู่ที่ 100-150 ไมครอนขึ้นไป
  3. Negative Space คือ  ส่วนรูหรือร่องที่เล็กที่สุดที่สามารถทำได้ จะสัมพันธ์กับ Positive Space เสมอ

ตัวอย่างผลการวิเคราะห์ที่ 1  เวลาการฉายแสง 2-20 วินาที

  • พิจารณาเบื้องต้นแถวที่ 7 8 9 ได้ผลที่คมชัด ส่วนของ Positive Space ที่เล็ก 100 ไมครอน สามารถแสดงผลได้
  • จุดเล็กๆของ Positive Space  แถว 8 9 ดีกว่า
  • ณ จุดนี้แล้วตาเปล่าไม่สามารถวัดหรือวิเคราะห์อะไรได้แล้ว ต้องใช้เครื่องมือวัดขนาดความกว้างและยางของเส้น เพื่อตรวจสอบความแม่นยำของขนาดว่าแถวได้ตรงตามแบบมากที่สุด
  • ส่วนใหญ่ถ้าเป็นเรซินแบบ Medium cure ดังภาพ ระยะเวลา 2 วินาที ให้ผมที่ไม่ต่างกันมาก แต่ถ้าเป็น Fast cure เช่นเวลาปกติ 4-5 วินาที จะส่งผลจุดนี้มาก
Anycubic Photon resin calibration (DLP 3D Printer)

ตัวอย่างผลการวิเคราะห์ที่ 2  เวลาการฉายแสง 8-18 วินาที

  • ภาพนี้สังเกตได้ชัดเจนว่าแถวที่ 8 ให้ผลการพิมพ์ที่คมชัดมากที่สุด
  • อีกสาเหตุหนึ่งเนื่องจากเครื่อง LCD ราคาถูก แสงบริเวณขอบๆจะมีกำลังที่น้อยกว่าตรงกลาง ดังนั้นส่วนใหญ่แถวที่ 12 และ 9 10 จะไม่ค่อยออกมาคมชัด
Anycubic Photon resin calibration (DLP 3D Printer)

ปัญหาการ Calibrate

หากคนที่ใช้ไฟล์ทดสอบที่โหลดมาแล้วเจอผลดังภาพ แสดงว่าลืมรันไฟล์ “test-mode.gcode” ตอนแรก

Anycubic Photon resin calibration (DLP 3D Printer)

การ Calibrate แบบอื่นๆ

หลังจากได้เวลาฉายแสงที่เหมาะสมระดับหนึ่งแล้ว ถัดมาคือการทดสอบโดยใช้งานจริง โดยแนะนำ 3D model ของ Ameralabs โหลดได้ตามลิ้งด้านล่าง โดยเมื่อพิมพ์เสร็จค่อยล้างออกโดยการพ่นเสปรย์น้ำเปล่า หรือ IPA เบาๆ เนื่องจากบางฟีเจอร์มีขนาดเล็กมาก อาจจะหลุดหายไปเลย จนวิเคราะห์ผิด

https://www.synci.co/wp-content/uploads/2018/08/AmeraLabs_Town_Calibration_test.zip
sample
Anycubic Photon resin calibration (DLP 3D Printer)
Anycubic Photon resin calibration (DLP 3D Printer)

สรุป

หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับผู้ใช้เครื่อง Anycubic Photon ทุกท่าน หากมีข้อสงสัยหรือไม่แน่ใจการวิเคราะห์ผลสามารถส่งคำถามได้ที่

[email protected]

แหล่งข้อมูล

1. Anycubic Photon user owner group

2. https://github.com/altLab

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ติดตามข่าวสารและบทความ

บทความน่าสนใจอื่นๆ

3D Printing Technology

รีวิวฟีเจอร์ Chitubox 2.0 กับฟีเจอร์ใหม่ที่ต้องรู้

Chitubox 2.0 กับคู่แข่งมากขึ้น นอกจากการแข่งขันด้านการพัฒนาเครื่องรุ่นใหม่ๆ แล้ว ด้านโปรแกรมกลุ่ม Slicer ก็มีผู้เล่นหน้าเก่า

อ่านต่อ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บการใช้งานของคุณบนเวบไซต์ของเรา เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาระบบที่ดีในการใช้งานเวบไซต์ หากท่านไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถปรับปรุงและพัฒนาเวบไซต์เพื่อตอบสนองความต้องการได้
    Cookies Details

บันทึก