Search
Close this search box.

สร้างหัวใจจากเทคนิค 3D Printing

ปัจจุบันคงปฏิเสธไม่ได้ว่าความก้าวหน้าทางการแพทย์ล้ำหน้า และทันสมัยตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไปแล้ว การรักษาโรคหัวใจได้กลับมาเป็นที่สนใจมากขึ้นนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาการสร้างหัวใจเทียมรวมถึงการใช้หุ่นยนต์และการพิมพ์ 3 มิติ เรียกได้ว่าไปไกลมากเลยทีเดียว โดยทีมนักวิจัยสามารถสร้างหัวใจเทียม ด้วยเทคโนโลยี 3D Printing เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในปัจจุบันได้มีการตีพิมพ์ลงในวารสาร Advanced Science พิมพ์หัวใจขนาด 2.5 เซนติเมตร ขนาดเล็กเท่ากับหัวใจของกระต่าย แต่มีโครงสร้างของหัวใจที่ใกล้เคียงของหัวใจจริงๆทั้งหมด ซึ่งพิมพ์ขึ้นมาจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ

การสร้างอวัยวะขึ้นมาทดแทนด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ จะค่อยๆบรรจงถักทอขึ้นมาทีละชั้นๆ ด้วยความละเอียด 10-50 ไมโครเมตร จากวัสดุต่างๆ อย่างเช่น

♥   ใช้หมึกชีวภาพที่มาจากเนื้อเยื่อของคนไข้โดยตรง ซึ่งช่วยลดปัญหาการเข้ากันไม่ได้ของอวัยวะที่ปลูกถ่ายในคนไข้ และร่นเวลาที่คนไข้ต้องรอในการปลูกถ่ายหัวใจในอนาคต

♥   ใช้ไฮโดรเจลและสีผสมอาหาร ในการการสร้างอวัยวะที่ประกอบไปด้วยโครงข่ายหลอดเลือดและระบบท่อที่ซับซ้อน

♥   ใช้วัสดุแบบซิลิโคน แม้ว่าภายนอกจะดูเหมือนก้อนซิลิโคนรูปหัวใจธรรมดา แต่สามารถเต้นและสูบฉีดสเมือนหัวใจของมนุษย์จริงๆ

งานวิจัยเหล่านี้จะนำไปสู่การออกแบบและวิศวกรรมเนื้อเยื่อที่ประกอบด้วยหลอดเลือด มีความสเมือนอวัยวะจริงๆ รวมทั้งโครงสร้างที่เป็นท่ออันสลับซับซ้อนของร่างกายได้ และโครงข่ายเล็กมากๆ ในรูปแบบต่างๆ อย่างง่ายดาย

การพิมพ์แบบ 3 มิติ จะสร้างประโยชน์ให้เกิดกับผู้ป่วยคือ สามารถทดแทนหรือใช้ซ่อมแซมชิ้นส่วนของหัวใจที่เป็นโรคหรือเสียหายได้

ผู้ป่วยบางคนต้องได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะซึ่ผู้บริจาคมีไม่มาก และไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ป่วย ทั้งยังต้องทดสอบความเข้ากันของเนื้อเยื่อ และผู้ป่วยต้องรับยากดภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต ทำให้แต่ละปีมีผู้ป่วยจำนวนไม่มากนักที่ปลูกถ่ายอวัยวะสำเร็จ เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ป่วยที่รออยู่

แม้จะมีการพัฒนาการรักษาให้มีประสิทธิภาพ และลดระยะเวลาในการรักษา ค่าใช้จ่ายที่น้อยที่สุด แต่อย่างไรก็ตามเราควรรักษาร่างกายให้แข็งแรง และดูแลอวัยวะอย่างเราให้ทำงานได้เป็นปกติ น่าจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุด

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ติดตามข่าวสารและบทความ

บทความน่าสนใจอื่นๆ

3D Printing Technology

รีวิวฟีเจอร์ Chitubox 2.0 กับฟีเจอร์ใหม่ที่ต้องรู้

Chitubox 2.0 กับคู่แข่งมากขึ้น นอกจากการแข่งขันด้านการพัฒนาเครื่องรุ่นใหม่ๆ แล้ว ด้านโปรแกรมกลุ่ม Slicer ก็มีผู้เล่นหน้าเก่า

อ่านต่อ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บการใช้งานของคุณบนเวบไซต์ของเรา เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาระบบที่ดีในการใช้งานเวบไซต์ หากท่านไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถปรับปรุงและพัฒนาเวบไซต์เพื่อตอบสนองความต้องการได้
    Cookies Details

บันทึก