Search
Close this search box.

เรซิ่นสำหรับเครื่องพิมพ์ 3 มิติ (3D Printer Resin) มีกี่ชนิด เลือกใช้อย่างไร

Resin

โดยทั่วไป 3D printer resin เป็นการพิมพ์จากสารละลายของเหลว ด้วยกระบวนการพิมพ์ SLA (Stereolithography) ซึ่งของเหลวที่ว่านี้ก็คือ “เรซิ่น” นั่นเอง

เรซิ่น จะประกอบไปด้วยมอนอเมอร์ (Monomer) และโอลิโกเมอร์ (Oligomer) สายโซ่โมเลกุลสั้นๆ ส่วนใหญ่เป็นอะตอมของคาร์บอนและหมู่ฟังชันก์อื่นอีกเล็กน้อย ถ้าถูกทิ้งไว้ในสถานะนี้เรซิ่นจะยังคงอยู่ในรูปของเหลว

ข้อดีของ 3D printer resin คือ มีพื้นผิวที่เรียบเนียน, ให้คุณภาพสูง, เก็บรายละเอียดและลวดลายได้ดี, และอื่นๆ อีกมากมาย

SLA 3D printing resins

เรซิ่นที่ใช้สำหรับ 3D printer มีอยู่หลักๆ 6 ประเภท ดังนี้

1) Standard resin

Standard resins หรือเรซิ่นทั่วๆไปที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ 3 มิติ เรซินชนิดนี้จะสามารถสร้างความแข็งให้กับชิ้นงาน เวลาพิมพ์จะได้ความละเอียดสูง มีผิวเรียบเนียนเหมือนการฉีดขึ้นรูป โดยไม่สูญเสียความแข็งแรง ด้วยประสิทธิภาพที่โดดเด่น แถมยังให้รายละเอียดได้ยอดเยี่ยม ต้นทุนต่ำ ทำให้เรซิ่นเหมาะสำหรับการใช้พิมพ์งานต้นแบบ ถือได้ว่าเป็นเรซิ่นที่มีคุณภาพสูงชนิดหนึ่งที่น่าสนใจ

เรซิ่นมีหลายสีให้เลือกใช้ สีของเรซินส่งผลกระทบต่อคุณสมบัติของชิ้นงาน ตัวอย่างเช่นเรซิ่นสีเทา เหมาะสำหรับชิ้นส่วนที่มีรายละเอียดดี และเรซิ่นสีขาว สำหรับชิ้นส่วนที่ต้องการพื้นผิวเรียบมาก

ข้อดี

♠ มีคุณสมบัติที่ดี และให้รายละเอียดสูง
♠ พื้นผิวเรียบเนียน
♠ ทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ใช้วัสดุ SLA

ข้อเสีย

♦  เปราะ
♦  มีการยืดตัวต่ำ
♦  ทนแรงกระแทกได้น้อย
♦  ทนอุณหภูมิการดัดงอเนื่องจากความร้อนไม่มาก

Easycast resin
High Wax resin

2) Tough resin

Tough resin เป็นเรซิ่นชนิดที่มีความแกร่งคล้ายกับวัสดุ ABS และยังได้รับการพัฒนาสำหรับการใช้งานที่ต้องการวัสดุที่สามารถทนต่อ stress และ strain สูง เป็นการสร้างความสมดุลให้กับความแข็งแรงและมีความสอดคล้อง ทำให้เป็นตัวเลือกที่เหมาะสำหรับการสร้างต้นแบบชิ้นส่วนที่ใช้งานได้ และการประกอบที่จะเกิดstress และ strain ในช่วงเวลาสั้น ๆ

ชิ้นส่วนที่พิมพ์ด้วยเรซิ่นจะมีความเหนียว มีความต้านทานแรงดึงได้สูงถึง 55.7 MPa และโมดูลัสความยืดหยุ่น 2.7 GPa เรียกได้ว่ามีความเทียบเท่ากับ ABS กันเลยทีเดียว

Tough resin จะใช้ผลิตชิ้นส่วนที่แข็งแรงทนทานต่อการแตกหัก และใช้งานเป็นต้นแบบ เช่น ตู้ที่มีข้อต่อแบบ snap-fit หรือต้นแบบที่แข็งแรงทนทาน

ข้อดี

♣  ความแข็งแกร่ง
♣  ความต้านทานที่ดีมากต่อแรงกระทำแบบซ้ำๆ

ข้อเสีย

♦  ไม่เหมาะสำหรับชิ้นส่วนที่มีผนังบาง (แนะนำความหนาของผนังขั้นต่ำ 1 มม.)
♦  ทนอุณหภูมิการดัดงอเนื่องจากความร้อนต่ำ
♦  ค่อนข้างเปราะ มีการยืดตัวต่ำเมื่อขาด

เรซิ่นสำหรับเครื่องพิมพ์ 3 มิติ (3D Printer Resin) มีกี่ชนิด เลือกใช้อย่างไร

(https://formlabs.com)

เรซิ่นสำหรับเครื่องพิมพ์ 3 มิติ (3D Printer Resin) มีกี่ชนิด เลือกใช้อย่างไร

(https://www.3dhubs.com)

3) Durable resin

Durable resin เป็นเรซิ่นที่ทนทานมาก ถือได้ว่าเป็นเรซิ่นทางวิศวกรรมก็ว่าได้ เหมาะกับเป็นวัสดุที่ทนต่อการสึกหรอและยืดหยุ่น เรซิ่นชนิดนี้มาพร้อมคุณสมบัติเชิงกลที่คล้ายกับโพลีโพรพิลีน (PP) ด้วยค่าโมดูลัสต่ำ การยืดตัวสูง และความต้านทานแรงกระแทกสูง Durable resin จึงสามารถผลิตชิ้นส่วนที่มีผิวเรียบ มันวาว และมีความต้านทานสูงต่อการเสียรูป เรซินชนิดนี้สามารถใช้กับชิ้นส่วนที่ต้องการความยืดหยุ่นสูง แรงเสียดทานต่ำ

Durable resin เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการสร้างต้นแบบสินค้าอุปโภคบริโภค, ตลับลูกปืน, บรรจุภัณฑ์ต่างๆ, Snap fits และ flexures รวมถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ต้องการให้มีความยืดหยุ่นเป็นพิเศษ

ข้อดี

♠  ความต้านทานการสึกหรอสูง
♠  มีความยืดหยุ่น การยืดตัวค่อนข้างสูงที่จุดขาด
♠  ทนต่อแรงกระแทกได้สูง และสูงกว่า Tough resin

ข้อเสีย

♦  ไม่เหมาะสำหรับชิ้นส่วนที่มีผนังบาง ความหนาของผนังอย่างน้อย 1 มม.
♦  ทนอุณหภูมิการดัดงอเนื่องจากความร้อนต่ำ
♦  ความต้านทานแรงดึงต่ำ (ต่ำกว่า Tough resin)

เรซิ่นสำหรับเครื่องพิมพ์ 3 มิติ (3D Printer Resin) มีกี่ชนิด เลือกใช้อย่างไร

(https://formlabs.com)

เรซิ่นสำหรับเครื่องพิมพ์ 3 มิติ (3D Printer Resin) มีกี่ชนิด เลือกใช้อย่างไร

(https://www.3dhubs.com)

4) Heat resistant resin

เรซินทนความร้อน เหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการความเสถียรทางความร้อนสูงและทำงานที่อุณหภูมิสูง เรซินนี้สามารถทนอุณหภูมิการความร้อนได้ในช่วง 200 – 300 ° C และที่อุณหภูมิ 238 ° C ที่ 0.45 MPa ใช้เพื่อพิมพ์รายละเอียดต้นแบบที่แม่นยำพร้อมความทนทานต่ออุณหภูมิสูง ซึ่งเหมาะสำหรับการผลิตติดตั้งที่ต้องทนความร้อน, ต้นแบบแม่พิมพ์, อุปกรณ์การไหลของของเหลว, เครื่องมือ และ thermoforming ต่างๆ

ข้อดี

♥  ทนอุณหภูมิการดัดงอเนื่องจากความร้อนสูง
♥  พื้นผิวเรียบเนียน

ข้อเสีย

♦  เปราะ มีการยืดตัวต่ำเมื่อขาดหรือหัก
♦  ไม่เหมาะสำหรับชิ้นส่วนที่มีผนังบาง ควรมีความหนาของผนังขั้นต่ำ 1 มม.

เรซิ่นสำหรับเครื่องพิมพ์ 3 มิติ (3D Printer Resin) มีกี่ชนิด เลือกใช้อย่างไร

5) Rubber-like resin

Rubber-like resin หรือ Flexible resin เป็นวัสดุที่มีความคล้ายยางมาก ช่วยให้วิศวกรสามารถจำลองชิ้นส่วนยางที่อ่อนนุ่มต่อการสัมผัสได้ง่าย และรวดเร็ว เรซิ่นชนิดนี้มีค่าโมดูลัสต่อแรงดึงต่ำ แต่มีการยืดตัวที่จุดขาดสูงมาก เหมาะสำหรับวัตถุที่จะถูกงอหรือถูกบีบอัด

Flexible resin ถูกทดสอบจากเครื่องมือวัดและทดสอบความแข็งของยางและพลาสติก มีค่า 80A Shore ซึ่งใกล้เคียงกับยาง (rubbers) ที่ใช้ผลิตพื้นรองเท้าหรือดอกยาง วัสดุนี้มีโมดูลัสแรงดึงต่ำ แตมีการยืดตัวสูง สำหรับชิ้นส่วนที่มีความยืดหยุ่นที่แข็งกว่าพร้อมผิวสัมผัสที่อ่อนนุ่ม

นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้เพื่อเพิ่มคุณสมบัติที่เหมาะกับการใช้งานให้กับความต้องการได้หลากหลาย เช่น บรรจุภัณฑ์, ตรายาง, การสร้างต้นแบบที่สวมใส่ได้ อย่างเช่นรองเท้า เสื้อผ้า

ข้อดี

♠  มีความยืดหยุ่นสูง
♠  ความแข็งต่ำ
♠  ทนต่อแรงกระแทกสูง

ข้อเสีย

♦  ขาดคุณสมบัติของยางแท้
♦  ต้องการ support structures ครอบคลุม
♦  คุณสมบัติของวัสดุจะลดลงเมื่อเวลาผ่านไปเนื่องจากชิ้นส่วนสัมผัสกับรังสี UV หรือแสงแดด
♦  ไม่เหมาะสำหรับชิ้นส่วนที่มีผนังบางมากๆ ความหนาของผนังขั้นต่ำ 1 มม.

เรซิ่นสำหรับเครื่องพิมพ์ 3 มิติ (3D Printer Resin) มีกี่ชนิด เลือกใช้อย่างไร

6) Ceramic filled resin

Ceramic filled resin หรือ Rigid Resin เป็นเรซิ่นที่มีการเสริมแรงด้วยแก้ว หรืออนุภาคเซรามิกอื่น ๆ เช่น ซิลิกา ส่งผลให้วัสดุมีพื้นผิวเรียบเนียน ทำให้มีความแข็งแกร่งสูง วัสดุนี้มีความทนทานต่อการเสียรูปสูง เหมาะสำหรับการพิมพ์ผนังหรือความหนาบางๆ ได้ดี

Rigid Resin มีเสถียรภาพทางความร้อนที่ดี และทนความร้อนได้ สามารถทนอุณหภูมิการดัดงอเนื่องจากความร้อนถึง 88 ° C ที่ 0.45 MPa มีค่าโมดูลัสความยืดหยุ่นสูง แต่การทดสอบเนื้อสัมผัส (texture analysis) เป็นการทดสอบวัสดุภายใต้ความเค้นคงที่แล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง (deformationพบว่าความต้านทานต่อการเสียรูปต่ำเมื่อเวลาผ่านไป แต่ยังคงสูงกว่าเรซิน SLA อื่น ๆ มีความเปราะมากกว่า Tough resins และ Durable resins

Rigid Resin ใช้สำหรับผลิตเป็นใบพัด, กังหันและพัดลม, อุปกรณ์จับยึดและเครื่องมือ, manifolds, ปลอกไฟฟ้าและตัวเรือนยานยนต์ และอื่นๆ

ข้อดี

♥  ความแข็งแกร่งสูง
♥  เหมาะสำหรับชิ้นส่วนที่มีความละเอียด
♥  ทนความร้อนปานกลาง

ข้อเสีย

♦  เปราะ มีการยืดตัวต่ำเมื่อแตก
♦  ทนต่อแรงกระแทกต่ำ

เรซิ่นสำหรับเครื่องพิมพ์ 3 มิติ (3D Printer Resin) มีกี่ชนิด เลือกใช้อย่างไร

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ติดตามข่าวสารและบทความ

บทความน่าสนใจอื่นๆ

3D Printing Technology

รีวิวฟีเจอร์ Chitubox 2.0 กับฟีเจอร์ใหม่ที่ต้องรู้

Chitubox 2.0 กับคู่แข่งมากขึ้น นอกจากการแข่งขันด้านการพัฒนาเครื่องรุ่นใหม่ๆ แล้ว ด้านโปรแกรมกลุ่ม Slicer ก็มีผู้เล่นหน้าเก่า

อ่านต่อ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บการใช้งานของคุณบนเวบไซต์ของเรา เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาระบบที่ดีในการใช้งานเวบไซต์ หากท่านไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถปรับปรุงและพัฒนาเวบไซต์เพื่อตอบสนองความต้องการได้
    Cookies Details

บันทึก