Search
Close this search box.

Resin 3D Printer กับเทคนิคการวางชิ้นงานให้เหมาะสม

เครื่อง Resin 3D Printer ทั่วๆไป ส่วนใหญ่เป็นระบบ Top-Down หรือ “ฐานพิมพ์” เลื่อนลงมาด้านล่างเพื่อพิมพ์ แล้วเลื่อนขึ้นทีละชั้น (layer) ดังนั้น ทุกครั้งที่เคลื่อนที่ขึ้น แรงยึดเกาะระหว่างชิ้นงาน+ฐานพิมพ์+ในตัวชิ้นงานเอง ต้องมากกว่าแรงระหว่างชิ้นงานกับฟิล์มด้านล่าง (Part&Build plate > Suction Force) ซึ่งหากน้อยกว่าชิ้นงานก็จะหลุดอยู่ในถาดเรซิน ดังนั้นการแก้ปัญหาดังกล่าวจึงใช้การเอียงชิ้นงาน เพื่อลดพื้นที่สัมผัส (Suction area) แทน โดยปกติเอียงประมาณ 30-60 องศา

why resin 3d printer need orientation
เอียง 45 องศา เพื่อลดพื้นที่สัมผัสแต่ละชั้นการพิมพ์
Part printed in VAT
ชิ้นงานที่ปริ้นเสีย ติดอยู่ในถาดเรซิน

ในเครื่องที่ราคาสูงขึ้นอาจจะมีระบบช่วยลอกชิ้นงาน เช่น ใบปาด (wiper) ของ Formlabs ระบบฐานเอียง (bed tilt) ของ Peopoly Moai ซึ่งลดปัญหางานหลุดจากฐานไปได้ ระดับหนึ่ง แต่การวางชิ้นงานก็ยังมีผลอยู่

Resin 3D Printer กับเทคนิคการวางชิ้นงานให้เหมาะสม

1. ปริ้นไวที่สุด

วางชิ้นงานราบกับฐาน เพื่อให้ความสูงน้อยที่สุด แบบนี้จะมีแรงดึงสูงที่สุด ดังนั้นหากพิมพ์เต็มพื้นที่ มีโอกาสพิมพ์เสียมากที่สุด ส่วนเรื่องความละเอียดต้องดูเป็นงานๆไป

Resin 3D Printer กับเทคนิคการวางชิ้นงานให้เหมาะสม

2. วางงานได้มากที่สุด

จับชิ้นงานตั้งขึ้น ลดพื้นที่ต่อชั้นให้มากที่สุด เพื่อพิมพ์ได้ครั้งละหลายชิ้น สำหรับพวกชิ้นงานทรงเรขาคณิต มีโอกาสชิ้นงานบิดเบี้ยวไม่ตรง โดยเฉพาะงานที่มีความบาง รวมถึงวาง Support ยากสำหรับงานที่รายละเอียดเยอะ

Resin 3D Printer กับเทคนิคการวางชิ้นงานให้เหมาะสม

3. พื้นที่ใต้มุมเอียงน้อยสุด

วางชิ้นงานตามมุมวิกฤต (critical angle) ที่ตั้งไว้ แล้วมีพื้นที่ต่อชั้นน้อยที่สุด ใช้การคำนวนสูงกว่าทั้ง 2 แบบก่อนหน้า "เป็นการวางที่ดีที่สุด" โอกาสพิมพ์เสียน้อยที่สุด หากไม่แน่ใจ หรือโปรแกรมไม่มีโหมด Auto ลองโหลดโปรแกรมของทาง Formlabs มาลองได้

บทความนี้เลยจับเอาชิ้นงานทดสอบมาลองวางในแต่ละมุม (0 15 30 60 และ 90 องศา ไม่มี 45 องศา) ซึ่งเป็นชิ้นงานทั่วๆไป สิ่งที่พิจารณามีด้วยกันคือ

  • ความเร็วในการพิมพ์

  • การบิดเบี้ยวของชิ้นงาน

  • รายละเอียดเมื่อมองด้วยตาเปล่า และระดับมาโคร

Angle testing

เครื่องที่นำมาใช้ทดสอบคือ Elegoo Mars เรซินต้นแบบทั่วๆไป การตั้งค่าตามภาพด้านล่างตามที่โรงงานเซ็ทมาคือ 50 ไมครอน เวลาฉายแสง 8 วินาที (สามารถลดได้ถึง 6.5 วินาที สำหรับงานเล็กๆ) ใช้การสร้าง support แบบอัตโนมัติ ไม่ได้มีเพิ่มเติม

Elegoo Mars ด้านข้าง
Nornal explosure time 8 sec

เนื่องจากเป็นเครื่องพิมพ์ 3 มิติ แบบ LCD ดังนั้นจึงพิมพ์พร้อมกันทุกชิ้น ใช้เวลาราวๆ 2 ชั่วโมงก็เสร็จ เรียบร้อย

Orientation test
Sample after cut from buildplate

ความเร็วในการพิมพ์

ถึงแม้จะเสร็จพร้อมกันหมด แต่ถ้าพิมพ์แยกแต่ละตัวจะใช้เวลาต่างกันพอสมควรระหว่างวางแนวราบ กับตั้งตรง 90 องศา

การบิดเบี้ยวของชิ้นงาน

ชิ้นงานที่นำมาทดลอง เป็นชิ้นงานที่สมมาตร และค่อนข้างบาง ดังนั้นจึงแทบไม่เห็นความแตกต่างยกเว้นชิ้นงานที่วางระนาบ พื้นด้านล่างจะมี support เยอะกว่าแบบอื่นหน่อย

Distrotion check in resin 3d pirnter
Rough at bottom surface

รายละเอียด

เห็นรอยระหว่างชั้นส่วนที่เป็นผิวโค้งเฉพาะชิ้นงานที่ตั้ง 90 องศาเท่านั้น เอียงมุมอื่นๆ พยายามส่องแล้วมองยากจริงๆ ขนาดใช้เลนส์ส่องพระโดยเฉพาะแล้ว ดังนั้น ถ้ามองด้วยตามเปล่า ยากที่จะแยกความแตกต่าง

0 degree angle
0 degree angle
15 degree angle
15 degree angle
30 degree angle
30 degree angle
60 degree angle
60 degree angle
75 degree angle
75 degree angle
Resin 3D Printer กับเทคนิคการวางชิ้นงานให้เหมาะสม
90 degree angle
Macro scale of Resin 3D Printer sample
รอยต่อชั้นบริเวณที่มีความต่างของชั้นมาก

มาในส่วนของชิ้นงานที่ยากมากขึ้น โดยเป็นเหรียฐ Bitcoin มีรายละเอียดสูงทั้ง 2 ด้าน ความหนา 3 mm เส้นผ่านศูนย์กลาง 25 mm ไม่สามารถวางระนาบ หรือเอียงมากได้ เนื่องจาก support จะสัมผัสชิ้นงานอีกด้าน ทำให้มีตำหนิเยอะเกินไป เก็บงานยาก จึงวางได้แค่เอียงๆตามภาพ

Resin 3D Printer Oreintation Technique

งานนี้จะเริ่มเห็นได้ชัดเจนแล้วว่า การวางตั้งตรงๆ แล้วให้ขนาดและตำแหน่ง support ที่ไม่เหมาะสม จะทำให้ชิ้นงานบริเวณด้านล่างที่มีแรงดึงสูง (suction force) และยังไม่แข็งแรงสูง เกิดรอยบิดเบี้ยว ตามภาพ

Resin 3D Printer กับเทคนิคการวางชิ้นงานให้เหมาะสม
Resin 3D Printer กับเทคนิคการวางชิ้นงานให้เหมาะสม
Resin 3D Printer กับเทคนิคการวางชิ้นงานให้เหมาะสม
Resin 3D Printer กับเทคนิคการวางชิ้นงานให้เหมาะสม
Resin 3D Printer กับเทคนิคการวางชิ้นงานให้เหมาะสม
Resin 3D Printer กับเทคนิคการวางชิ้นงานให้เหมาะสม

ดังนั้นหากมีประสบการณ์ หรือคุ้นเคยอยู่แล้ว ปัญหาจุดนี้ก็จะน้อยลงไป ส่วนรายละเอียดของการวางทั้ง 3 แบบ ไม่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด (ใครแยกออกบ้าง ?)

ชิ้นงานแบบทันตกรรม หรือชุดฟันของคนเป็นอีกหนึ่งแบบที่มีคนปริ้นมากที่สุด แต่ละผู้ผลิตเครื่องก็จะมีคำแนะนำต่างกันออกไป โดยการวางชิ้นงานแบบระนาบไปกับพื้นจะใช้เวลาน้อยที่สุด ในขณะที่หากวางชิ้นงานเอียง เวลาจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว อย่างไรก็ตามงานในกลุ่มนี้มักขึ้นชิ้นงานพร้อมกันหลายๆชิ้นภายในครั้งเดียว ดังนั้นจะเกิดปัญหาแรงดึงระหว่างชั้นแน่นอน ดังนั้นจึงเอาผลทดสอบการปริ้นชิ้นงานเต็มถาด Phrozen Transform มาให้ดูกัน 

ภาพแรกเป็นการวางระนาบกับฐานพิมพ์เต็มพื้นที่ จะพบตำหนิชิ้นงานด้านล่างที่ผิวไม่เรียบ ในขขณะที่วางเอียงแบบ 45 องศานั้น จะได้งานที่เนียนเรียบ สวยงาม

Dental Model Flat
Dental Model 45

ขณะที่ผิวด้านล่างก็ต้องมีการขัดเก็บชิ้นงานให้เรียบ เช่นเดียวกัน เนื่องจาก Support จำนวนมาก ส่วนชิ้นงานที่วางเอียงได้ผิวที่เรียบ แทบจะไม่ต้องขัดตกแต่งเลย

Bottom Surface
Bottom Surface

ข้อดีอีกอย่างของการวางเอียงคือสามารถใช้ Support ขนาดเล็กกับชิ้นงานได้ เหมาะกับงานเล็กๆ ตกแต่งได้ยาก  แต่ถ้าต้องมีการ Post Processing อยู่แล้ว การวางระนาบกับพื้นเพื่อประหยัดเวลาก็เป็นทางเลือกที่ดีกว่า

Material Cost 3d printer
LCD 3D Printer

ได้มีการพูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในกลุ่มผู้ใช้เรื่องการตั้งค่าที่เหมาะสม โดยสำหรับเครื่อง LCD 3D Printer ขนาด 5.5 นิ้ว ความละเอียด 2K ที่่มีความละเอียด XY 47 ไมครอน ควรตั้ง Layer Height และมุมเอียงตามข้อมูลด้านล่างครับ วิธีอ่านแผนภาพ เช่น

  • ต้องการใช้ความละเอียด 50 ไมครอน (0.05 mm) ควรเอียงมุม 46.62 องศา โดยเฉพาะส่วนที่เป็นผิวโค้ง จะลดรอยหยักไปได้เกือบทั้งหมด
  • ต้องการใช้ความละเอียด 20 ไมครอน (0.02 mm) ควรเอียงมุม 22.942 องศา จะเอียงมากกว่านี้ก็ได้ แต่ต้องไม่ต่ำกว่านี้

 

Resin 3D Printer กับเทคนิคการวางชิ้นงานให้เหมาะสม
ที่มา: Anycubic Photon User Group
Whats is best angle
ที่มา: Anycubic Photon User Group

โดยหากยึดหลักตามข้อมูลด้านบน ช่วยให้รอยต่อที่เป็นชั้นๆ (step) ลดลงไปได้เยอะ รวมถึงนักออกแบบหลายๆคนก็ยึดหลักตามนี้ ดีไซน์ชิ้นงานตามทฤษฎี ทำให้งานออกมาสวยงาม เช่น ไฟล์ Calibration ของ Prusa SL1 ที่ตั้งใจให้คนปริ้นทดสอบขึ้นไปตรงๆ ไม่ต้องเอียง แล้วยังได้งานที่สวยงามทุกมุม

resin 3d printer sample
resin 3d printer sample

บทความเก่าเอามาเล่าใหม่

งานผิวโค้งกับเครื่อง LCD 3D Printer ผนังบาง (<1 mm) มีความโค้งเล็กน้อย ขนาดประมาณ SD Card จับเอียง 0 15 และ 45 องศาตามลำดับดังภาพ และพิมพ์ขึ้นรูปออกมา โฟกัสผลไปที่บริเวณกลางโล่
3D Printer Orientation

สำหรับมือใหม่หัดใช้เครื่อง อาจจะดูยาก เพราะไม่ทราบว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ทางผู้เขียนก็แนะนำว่าเริ่มจากการวางงานง่ายๆ เช่น มาถึงเอียง 45 องศาเลย หรือตั้งชิ้นงานตรงๆไปเลย ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก หากใช้งานไปนานมีประสบการณ์มากขึ้น ก็จะบอกได้เองว่า ชิ้นงานลักษณะนี้ควรจะหลบมุมอย่างไร โดยเทคนิคที่ควรใช้อยู่เสมอคือ

  • ไม่ควรวางชิ้นงานลงบนฐานพิมพ์ตรงๆ ควรมีฐานจำลอง (raft) แล้วมี Support ไปเชื่อมชิ้นงานอีกที เพื่อลดปัญหาขนาดแกนสูง (Z) ผิดเพี้ยนจากการกด
  • อียงชิ้นงานตาม Golden Raio ถึงแม้มุม 45 องศาจะเป็นมาตรฐาน แต่หากพิมพ์ความละะเอียดสูง เช่น 20 ไมครอน เอียงแค่ 23 องศาก็เพียงพอแล้ว พิมพ์ได้เร็วมากขึ้นหลายเท่าด้วย (ลองกลับไปดูข้อมูลเวลาในการพิมพ์ดู)
  • Support ควรเลือกระหว่างจะใช้ขนาดใหญ่ หรือใช้ขนาดเล็ก แต่เน้นจำนวนแทน ขึ้นกับชนิดของเรซินว่า หากลดขนาดลงมา ตัวเรซินยังแข็งแรงพอสำหรับการรับน้ำหนักไหวมั้ย ส่วนใหญ่ไม่ควรใช้ต่ำกว่า 0.8 m สำหรับแกนหลัก และ 0.6 mm บวิเวณที่สัมผัสชิ้นงาน
  •  

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ติดตามข่าวสารและบทความ

บทความน่าสนใจอื่นๆ

3D Printing Technology

รีวิวฟีเจอร์ Chitubox 2.0 กับฟีเจอร์ใหม่ที่ต้องรู้

Chitubox 2.0 กับคู่แข่งมากขึ้น นอกจากการแข่งขันด้านการพัฒนาเครื่องรุ่นใหม่ๆ แล้ว ด้านโปรแกรมกลุ่ม Slicer ก็มีผู้เล่นหน้าเก่า

อ่านต่อ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บการใช้งานของคุณบนเวบไซต์ของเรา เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาระบบที่ดีในการใช้งานเวบไซต์ หากท่านไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถปรับปรุงและพัฒนาเวบไซต์เพื่อตอบสนองความต้องการได้
    Cookies Details

บันทึก