Search
Close this search box.

การซ่อมไฟล์ 3D Model STL เพื่อใช้กับเครื่อง 3D Printer

ปัญหาไฟล์ 3D Model เสียเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

ปัญหาเกิน 90% ของไฟล์ 3D Model เสียเกิดขึ้นจากการแปลง หรือ Convert ไฟล์จากโปรแกรมเขียนแบบ ซึ่งมีหลากหลายโปรแกรม มีความเหมาะสมกับงานแตกต่างกันไป ที่สำคัญคือแต่ละโปรแกรมมีนามสกุลและการเก็บข้อมูลเฉพาะตัว ดังนั้นในหน้าจอการทำงานถึงแม้จะมีการแสดงผลที่สมบูรณ์แบบ แต่ถ้าหากมีการ Covert แล้วนำมาเปิดในอีกโปรแกรมหนึ่ง อาจจะความคลาดเคลื่อนหรือผิดพลาดได้ โดยเฉพาะโปรแกรมที่สามารถสร้าง Surface หรือชิ้นงานที่ไม่มีความหนาได้ง่าย เช่น SketchUp,  Rhino ในขณะที่โปรแกรมกลุ่มวิศวกรรมจะเจอปัญหานี้น้อยกว่า อีกกลุ่มที่จะเจอปัญหาคือไฟล์จากเครื่อง 3D Scanner ที่มีการปิดผิวไม่สนิท

โปรแกรมของเครื่อง 3D Printer ทั้งหมดอยู่ในกลุ่มของโปรแกรม Slicer ไม่ใช้โปรแกรมเขียนแบบ ส่วนใหญ่รองรับนามสกุล .stl และ .obj ดังนัั้นหลายๆโปรแกรมไม่สามารถที่จะซ่อมแซมไฟล์ได้ ดังนั้นหากผู้ใช้ไม่ตรวจสอบ อาจทำให้งานเสียหายและไม่เป็นไปตามที่ต้องการได้ เลยเป็นที่มาของบทความนี้ ที่แนะนำวิธีการตรวจสอบไฟล์ที่นำมาใช้งานและการซ่อมแซมอย่างง่ายกัน ซึ่งหากแก้ไขได้จากโปรแกรมต้นทางจะเป็นการแก้ที่ดีที่สุด

การซ่อมไฟล์ 3D Model STL เพื่อใช้กับเครื่อง 3D Printer
ที่มา: www.3dhub.com

การแก้ไขอย่างง่ายผ่าน Web Service

  1. Microsoft Online Repair Tool ต้องไปสมัคร Microsoft Account ก่อน ถึงจะใช้งานได้ มี limit ขนาดไฟล์ที่ 100 MB ซึ่งก็เหลือเฟือเลย มีขอเสียคือต้องรอคิวในการซ่อมไฟล์ โดยเฉพาะในไทยที่อินเตอร์เน็ททั่วไปออกต่างประเทศค่อนข้างช้า ดังนั้นการอัพโหลดไฟล์ใหญ่ๆบางครั้งจะค้าง และต้องเสียเวลาอัพโหลดใหม่อีกครั้ง โดยไม่สามารถ Resume ได้
Microsoft online service fix 3d model

2. ​ Netfabb Online Service เป็นอีกบริการของ Netfabb ที่ตอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของ Autodesk ไปแล้วดังนั้น หากต้องการใช้งานต้องไปลงทะเบียน Autodesk  Account ก่อน ส่วนตัว ผู้เขียนคิดว่าไวกว่าทาง Microsoft

Netfabb online service fix 3d model

3. เวบสุดท้ายที่ผู้เขียนคิดว่าดีที่สุด คือ Makeprintable  ที่แก้ไขไฟล์ได้ดีมาก ใช้ง่าย โดยเฉพาะโหมดเสียเงินที่ปรับได้ค่อนข้างหลากหลาย เคยมีไฟล์หนึ่งที่ซ่อมแบบ Manual ไม่ได้ โยนเข้าเวบนี้สามารถแก้ได้ถูกต้อง ไฟล์ออกมาสะอาดมาก

การแก้ไขไฟล์ 3D Model ที่เสียหายแบบ Manual

หลายครั้งการแก้ไขผ่าน Web Service ก็ไม่ได้แก้ปัญหาไฟล์เสียหายได้ รวมถึงมีโอกาสที่รูปร่างของ 3D Model ที่ต้องการผิดเพี้ยนไปอีก ดังนั้นการแก้ไขเอง ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เหมาะสมกว่า บทความนี้ได้เลือกโปรแกรม Meshmixer ที่ใช้งานได้ฟรีเป็นเครื่องมือที่ช่วยเหลือและแกไขไฟล์ให้เหมาะสม

การเช็คไฟล์โดยใช้ Meshmixer

สามารถดาว์นโหลดได้ที่เวบหลักของผู้พัฒนา (Meshmixer) หลังจากติดตั้งโปรแกรมแล้วสามารถ Import Model จากคำสั่ง “Import” ด้านหน้า หรือซ้ายบน

ไปที่คำสั่ง Analysis แล้วเลือกโหมด Inspect

หากไฟล์ที่นำเข้ามามีรูรั่ว (manifold) หรือส่วนที่ผนังบาง (surface) ตัวโปรแกรมจะระบุตำแหน่งออกมาตามภาพ

ที่คำสั่ง Hole Fill Mode จะมี 3 คำสั่งบ่อยในการปิดผิวดังกล่าว ในหลายๆกรณีไม่สามารถซ่อมได้สมบูรณ์

  • Minimal Fill ปิดผิวดังกล่าวโดยใช้จำนวนโพลิกอนน้อยที่สุด
  • Flat Fill สร้างผิวเรียบปิดส่วนดังกล่าว เหมาะกับทรงงานเรขาคณิต
  • Smooth Fill สร้างส่วนโค้งเพื่อปิดผิว เหมาะกับงานปั้น ส่วนโค้ง

ผู้ใช้สามารถเลือกโหมด Auto Repair All ซึ่งโปรแกรมจะซ่อมแซมให้อัตโนมัติทุกส่วนตามความเหมาะสม หรือสามารถเลือกการเติมผิวแต่ละจุดได้โดยเลือกโหมดการเติม และคลิ๊กที่บอลลูนซึ่งขึ้นบนชิ้นงานเป็นการปิดผิว ในหลายๆครั้งต้องใช้การปิดผิวหลายๆแบบร่วมกัน

ตัวอย่างการใช้งานจาก Pinshape

ตัวอย่างที่ 1: Surface Holes

1. ชิ้นงานมีรูขนาดเล็กที่ปลายชิ้นงาน และมีผิวที่ปิดไม่สนิทเป็นรูรั่วอยู่ เมื่อใช้คำสั่ง Inspect จะเห็นได้ชัดเจน

การซ่อมไฟล์ 3D Model STL เพื่อใช้กับเครื่อง 3D Printer
การซ่อมไฟล์ 3D Model STL เพื่อใช้กับเครื่อง 3D Printer

2. การซ่อมแซมผิวด้านซ้ายที่เป็นผิวโค้ง ต้องเลือกโหมด Smooth Fill แล้วคลิ๊กที่บอลลูนสีน้ำเงิน จะปิดผิวแนวโค้งได้

3D Model after smooth fill

3. การซ่อมผิวด้านก้านของใบ เป็นระนาบ ผิวเรียบดังนั้นต้องเปลี่ยนเป็นหมด Flat Fill จากนั้นเลือกที่บอลลูนสีชมพู

การซ่อมไฟล์ 3D Model STL เพื่อใช้กับเครื่อง 3D Printer

4. จากภาพด้านบนยังพบว่ามีส่วนที่แยกกันอยู่คือสีน้ำเงินล้อมก้าน ซึ่งการซ่อมไฟล์ไม่ได้เชื่อมส่วนที่แยกกันอยู่ทั้งหมด ถ้าไปที่คำสั่ง Edit > Seperate Shell จะพบว่ามี 2 ชิ้นงานอยู่ในไฟล์เดียวกัน

การซ่อมไฟล์ 3D Model STL เพื่อใช้กับเครื่อง 3D Printer

5. ดังนั้นต้องเชื่อม 2 ส่วนนี้เข้าด้วยกันโดยไปที่ Object Browser เลือกทุกส่วนเข้าด้วยกันแล้วเลือก Combine

การซ่อมไฟล์ 3D Model STL เพื่อใช้กับเครื่อง 3D Printer

6. สุดท้ายจะเหลืองานแค่ชิ้นเดียวและทุกส่วนเชื่อมต่อกันไม่มีรอยรั่ว หรือส่วนที่ผนังบางตามภาพ

การซ่อมไฟล์ 3D Model STL เพื่อใช้กับเครื่อง 3D Printer
งานที่สมบูรณ์

ตัวอย่างที่ 2: การแก้ผิวงานที่เป็น Surface

หลายๆโปรแกรมสามารถสร้างแบบ 3D Model โดยเป็น Surface ได้อย่างง่ายๆ ซึ่งไม่สามารถนำมาใช้กับเครื่อง 3D Printer ได้ โดยเมื่อ Import เข้ามาใน Meshmixer แล้ว จะเห็นเป็นผิวโค้งซึ่งมีแถบสีฟ้าทั้งหมด เป็นการบอกว่าชิ้นงานนี้เป็นงานผนังบาง ไม่มีความหนา

การซ่อมไฟล์ 3D Model STL เพื่อใช้กับเครื่อง 3D Printer

หากเป็นโปรแกรมทั่วๆไป คงไม่สามารถยืด หรือให้ความหนางาน Surface ได้ง่ายๆ แต่ใน Meshmixer สามารถทำได้โดยกด Ctrl+A เพื่อเลือกชิ้นงานทั้งหมด (หรือคลิ๊กที่ชิ้นงาน) จากนั้นไปที่ Edit แล้ว Extrude จะสามารถให้ความหนา (offset)ได้ตามที่ต้องการ

การซ่อมไฟล์ 3D Model STL เพื่อใช้กับเครื่อง 3D Printer
เพิ่มความหนาให้ Surface Contour ที่สร้างขึ้น

สำหรับบางงานที่เป็นแบบโมเดลพร้อมใช้งานแล้ว แต่เป็น surfac เกือบทั้งหมด แล้วการ Auto Repair Fill โปรแกรมจะลบชิ้นงานไปทั้งหมด

การซ่อมไฟล์ 3D Model STL เพื่อใช้กับเครื่อง 3D Printer
มีส่วนที่เสียหายหลายจุด
การซ่อมไฟล์ 3D Model STL เพื่อใช้กับเครื่อง 3D Printer
โหมด Auto ลบชิ้นงานหายไปทั้งตัว

วิธีการแก้ไขอีกแบบคือเลือกชิ้นงานไปที่ Edit หลักด้านซ้าย แล้วเลือก Make Solid ใช้ค่ามาตรฐานที่โปรแกรมตั้งมาก็จะช่วยได้ระดับหนึ่ง เป็นการแก้ไขชั่วคราว ซึ่งโหมดนี้รายละเอียดของชิ้นงานอาจจะมีหายไปบ้าง แต่ช่วยให้นำไปใช้กับเครื่อง 3D Printer ได้แน่นอน

การซ่อมไฟล์ 3D Model STL เพื่อใช้กับเครื่อง 3D Printer
BB8 ที่ไม่มีรอยรั่วหรือ Surface บนชิ้นงานแล้ว

สรุปการซ่อมแซมไฟล์ 3D Model

บทความนี้อาจจะช่วยแก้ไขเฉพาะหน้าได้บ้าง แต่สิ่งที่ควรปฏิบัติมากที่สุดคือการขึ้นงาน 3D โดยทราบข้อจำกัดของเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ตั้งแต่เริ่ม จะลดปัญหางานเสียได้มากที่สุด ทางผู้เขียนจะมาเพิ่มเติมเทคนิคการแก้ไข โดยใช้โปรแกรมซึ่งเป็นฟรี หรือราคาไม่แพงให้เป็นระยะ หากมีฟังก์ชั่นเพิ่มเติม หรือเทคนิคขั้นสูงมากกว่านี้

ที่มา:Pinshape

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ติดตามข่าวสารและบทความ

บทความน่าสนใจอื่นๆ

3D Printing Technology

รีวิวฟีเจอร์ Chitubox 2.0 กับฟีเจอร์ใหม่ที่ต้องรู้

Chitubox 2.0 กับคู่แข่งมากขึ้น นอกจากการแข่งขันด้านการพัฒนาเครื่องรุ่นใหม่ๆ แล้ว ด้านโปรแกรมกลุ่ม Slicer ก็มีผู้เล่นหน้าเก่า

อ่านต่อ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บการใช้งานของคุณบนเวบไซต์ของเรา เพื่อประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาระบบที่ดีในการใช้งานเวบไซต์ หากท่านไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถปรับปรุงและพัฒนาเวบไซต์เพื่อตอบสนองความต้องการได้
    Cookies Details

บันทึก